ในการโอนรถยนต์ หรือเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ผู้ถือครอง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ต้องเตรียมเอกสารโอนรถอะไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?
การโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ คือการโอนย้ายเพื่อเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ผู้ถือครอง จากบุคคลหนึ่งเป็นอีกบุคคลหนึ่ง โดยสามารถไปดำเนินการโอนรถได้ที่กรมการขนส่งหรือสำนักงานขนส่งที่เป็นที่อยู่ในเล่มทะเบียนของเจ้าของรถ พร้อมเตรียมเอกสารโอนรถไปให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
id="attachment_1119" align="aligncenter"

การโอนรถคือการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ผู้ถือครอง
อ่านเพิ่มเติม
โอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
- เล่มทะเบียนรถ
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้โอนและผู้รับรถ
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีเป็นนิติบุคคล)
- แบบฟอร์มการโอนรถและการรับโอน >> ที่นี่
- หนังสือสัญญาซื้อ-ขาย ใบเสร็จการซื้อ-ขาย หรือใบกำกับภาษี
- หนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้โอนมาดำเนินเรื่องเองไม่ได้)
- สำเนาใบมรณบัตร คำสั่งศาลหรือเอกสารราชการที่ระบุชื่อผู้รับมรดก (กรณีรับมรดกมาจากบิดา/มารดาที่เสียชีวิต/ศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก)
หลังจากเตรียมเอกสารโอนรถครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของได้ตามขั้นตอน ดังนี้
id="attachment_1120" align="aligncenter"

ดาวน์โหลดฟอร์มการโอนรถยนต์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก
ขั้นตอนการโอนรถ
- ไปที่กรมการขนส่งทางบกพื้นที่ 1-5 หรือสำนักงานขนส่งสาขาที่เป็นที่อยู่ในเล่มทะเบียนของผู้โอน
- นำรถเข้าตรวจสภาพรถที่ฝ่ายตรวจสภาพรถ
- ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการโอนรถ
- ชำระค่าธรรมเนียมในการโอนรถยนต์ จำนวน 905 บาท
- ค่าอากรแสตมป์ จำนวน 500 บาท (ต่อการประเมินราคารถทุก 100,000 บาท)
- ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียนรถ จำนวน 100 บาท
- ค่าธรรมเนียมการโอนรถ จำนวน 100 บาท
- ค่าเปลี่ยนแผ่นป้ายทะเบียน จำนวน 200 บาท
- ค่าคำขอ จำนวน 5 บาท
id="attachment_1121" align="aligncenter"

การโอนรถ ดำเนินเรื่องที่ขนส่ง
5. รอรับเอกสารคืน และรอรับป้ายเล่มทะเบียนและป้ายทะเบียนรถใหม่ได้เลย (ไม่เกิน 7 วัน)
การโอนลอย
การโอนลอย คือ การโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ โดยที่ผู้ขายเซ็นเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องให้ผู้ซื้อไปดำเนินการเองที่ขนส่ง (แต่ผู้ขายไม่ได้ไปด้วย) ข้อดีคือมีความสะดวกรวดเร็ว แต่อาจสร้างปัญหาให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้ เช่น ผู้ซื้อไม่เสียภาษีรถยนต์ประจำปี หรือเกิดอุบัติเหตุ หรือนำรถไปกระทำความผิด เจ้าของเดิมจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเต็ม ๆ หรือหากบัตรผู้ขายหมดอายุ ก็จะเสียเวลาขอเอกสารใหม่อีก
โดยเฉพาะการซื้อ-ขายรถมือสอง ผู้ซื้อและผู้ขายจึงควรไปโอนรถที่ขนส่งด้วยตัวเอง ผู้รับโอนควรตรวจสอบหลักฐานและที่มาของรถให้ละเอียด เช่น คู่มือรถ เลขตัวถัง รวมถึงสีรถว่าถูกต้องตรงตามที่ระบไว้ในคู่มือรถหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจจฉาชีพที่อาจใช้ช่องโหว่นี้มาหลอกลวงคุณ
การโอนรถสามารถทำได้ในไม่กี่ขั้นตอน ที่กรมการขนส่งทางบก พื้นที่ 1-5 และสำนักงานขนส่งทั่วประเทศ โดยต้องเตรียมเอกสารโอนรถให้ครบถ้วน หากซื้อรถมือสองมาควรตรวจสอบที่มาและหลักฐานให้ละเอียด เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่:https://khaotoyota.com/